ยานี้มีส่วนประกอบของยาหลัก 2 ชนิด คือ เออร์โกทามินทาร์เทรต (Ergotamine tartrate) กับ แคฟเฟอีน (Caffeine) | |
ข้อบ่งใช้ | ใช้สาหรับบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนแบบเฉียบพลัน |
คำแนะนำในการใช้ยา | – เมื่อปวดหัวไมเกรน ให้กินยา 1 – 2 เม็ดทันที ถ้าอาการปวดยังไม่หายภายใน 30 – 60 นาที สามารถกินซ้าได้อีก 1-2 เม็ด ใน 1 วัน กินยานี้ได้ไม่เกิน 6 เม็ด ใน 1 สัปดาห์ กินยานี้ได้ไม่เกิน 10 เม็ด – ยานี้อาจทาให้เกิดภาวะพิษเออร์กอต(Ergotism) ได้ อาการที่เกิดได้แก่ ชา ปวดแปลบตามปลายมือปลายเท้า อวัยวะส่วนปลายมีสีเขียวคล้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง รุนแรงถึงเนื้อตายเน่า กรณีที่เกิดอาการดังกล่าว ให้รีบหยุดยาแล้วไปพบแพทย์ทันที – ยานี้ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรนเฉียบพลันเท่านั้น ไม่มีผลป้องกันการปวดหัวในระยะยาว – ยานี้เป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดเท่านั้น ท่านจาเป็นต้องพักผ่อนในที่เงียบสงบ เพื่อให้หายปวดได้เร็วยิ่งขึ้น |
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา | 5.1 อาการที่ต้องหยุดยา แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที – บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ ผื่นแพ้ – ภาวะพิษเออร์กอต โดยสังเกตจากอาการต่อไปนี้ – ชา ปวดแปลบตามปลายมือปลายเท้า – ปลายมือ ปลายเท้า มีสีม่วงคล้าจากการขาดเลือดไปเลี้ยง เนื้อตายเน่า 5.2 อาการที่ไม่จาเป็นต้องหยุดยา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที – คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มึนงง ปวดท้อง ชาตามปลายมือปลายเท้า |
ข้อห้ามใช้ | – ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบอื่นในตำรับนี้ – ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยาในกลุ่มเออร์กอตแอลคาลอยด์ หรือ แคฟเฟอีน – ห้ามใช้ในหญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ กาลังตั้งครรภ์ และหญิงที่ให้นมบุตร – ห้ามใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส ยาต้านเชื้อรา หรือยาที่ทาให้หลอดเลือดตีบตัว บางชนิด – ห้ามใช้ในผู้ที่มีการทางานของตับหรือไตบกพร่องอย่างรุนแรง – ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงที่ควบคุมไม่ได้ – ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลาย – ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด |
อันตรกิริยาระหว่างยา | ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ร่วมกับยาอื่น ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยา อาหาร หรือผลไม้ บางชนิด เพราะอาจมีผลต่อการรักษาหรือเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเกิดภาวะพิษเออร์กอตเช่น – ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีริโทรไมซิน คลาริโทรไมซิน – ยาต้านเชื้อไวรัส เช่น ริโทนาเวียร์ อินดินาเวียร์ เนลฟินาเวียร์ – ยาต้านเชื้อรา เช่น คีโทโคนาโซล อิทราโคนาโซล โวริโคนาโซล โคลทริมาโซลฟลูโคนาโซล – ยาลดความดันในกลุ่มปิดกั้นตัวรับเบต้า เช่น โพรแพโนนอล – ยารักษาโรคหืด เช่น ซิลูตอน – ยาต้านซึมเศร้า เช่น ฟลูโวซามีน – ผลไม้ เช่น เกรปฟรุต – อื่นๆ เช่น น้าดื่มที่มีแคฟเฟอีน น้าอัดลม ชา กาแฟ |
การเก็บรักษายา | ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุเดิมตามที่ได้รับมา ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง |
ข้อควรระวังอื่นๆ | – ควรสังเกตอาการต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างใช้ยานี้ กรณีถ้าพบความผิดปกติขึ้นให้รีบไปพบแพทย |
อ้างอิง | 1. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade name index. 18 ed.; 2009-2010. 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายการข้อมูลยาสำหรับประชาชน. [cited 2017 Oct 18]. http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/ข้อมูลยาสำหรับประชาชน.aspx |
