ขันทองพยาบาท

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Suregada multiflorum Baill.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อพ้อง Gelonium multiflorum A. Juss.
ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ :    ขันทองพยาบาท (กลาง), กระดูก (ใต้), ขนุนดง (เพชรบูรณ์), ขอบนางนั่ง (ตรัง), ขัณฑสกร (จันทบุรี), ขันทอง (กระบี่,พิจิตร), ข้าวตาก (กลาง,ตะวันออก), ขุนทอง (ประจวบคีรีขันธ์), คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์), โจ่ง (ซ่วย สุรินทร์), ช้องรำพัน (จันทบุรี,ประจวบคีรีขันธ์), ดูกไทร (เลย), ดูกไม้ (เลย), ดูกหิน (สระบุรี), ดูกไหล (นครราชสีมา), ทุเรียนป่า (ชุมพร,ลำปาง), ทุเรียนป่า (ชุมพร,ลำปาง), ไฟ (ตะวันออก,เหนือ), มะดูก (กลาง,น่าน), มะดูกดง (เชียงใหม่,ปราจีนบุรี), มะดูกเลื่อม (เหนือ), ยางปลอก (แพร่), ยายปลวก (ตรัง,สุราษฎร์ธานี), สลอดน้ำ (กลาง,จันทบุรี), หมากดูก (กลาง,เชียงราย), เหมือดโลด (ขอนแก่น,เลย), เหล่ปอ (กะเหรี่ยง แพร่), ฮ่อสะพายควาย (กาญจนบุรี,เหนือ)

ลักษณะ
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านค่อนข้างกลม จะมีสีเทา เกลี้ยง หูใบเล็ก หลุดร่วงได้ง่าย

ใบ : หนาแข็งดกทึบ เป็นใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปหอกแกมขอบขนานมี ตรงปลายใบแหลมหรือ มน โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบจะหนามีลักษณะคล้ายแผ่น

ดอก : ออกเป็นช่อกระจาย ใบประดับรูปหอกยาว ตรงปลายแหลม กลีบดอกจะมีอยู่ ๕ กลีบ รูปขอบขนาน

ผลกลมและแข็ง จะมีเส้นตามความยาว เมื่อผลแก่จะแตกตรงรอยประสานตรงเม็ดแบนความกว้างประมาณ ๒ มม. ยาวประมาณ ๑ ซม.

สรรพคุณของสมุนไพร


ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ เปลือก

เนื้อไม้
มีรสเฝื่อนเมา ใช้รักษาอาการพิษในกระดูก ประดง รักษาโรคเรื้อนมะเร็งคุดทะราด  กลากเกลื้อน ลมพิษ โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิโรคผิวหนังทุกชนิด กามโรค

เปลือก
ใช้เป็นยาบำรุงเหงือกใช้รักษาเหงือกอักเสบทำให้ฟันทน และใช้เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ โรคผิวหนังกลากเกลื้อน

ที่มา
http://thaiplantpics.blogspot.com/2012/02/blog-post_3640.html
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?Botanic_ID=1043