จิกนา หรือ กระโดนบก

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ Careya sphaerica Roxb.
ชื่อวงศ์ : Barringtoniaceae
ชื่อสามัญ : Tummy-wood, Patana oak
ชื่อพื้นเมือง :   กระโดน,ผักกระโดน,กระโดนบก,กระโดนโคก (อุดรธานี,อีสาน),กะนอล(ขเมร)ขุย(กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักปุย(เหนือ),ปุยกระโดน(ใต้),ปุยขาว,ผักฮาด(เหนือ),หูกวาง (จันทบุรี),พุย(ละว้า-เชียงใหม่) กะนอน  ขุย  แซงจิแหน่  ปุย   พุย  ผ้าฮาด  แส่เจ๊อะบะ  หูกวาง

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้นขนาดกลาง  สูง 6-10 เมตร   ผลัดใบ   เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ โดยมากลำต้นมักเตี้ย กิ่งก้านสาขามาก เปลือกหนาแตกล่อนเป็นแผ่นๆ  ปกติเปลือกสีเทา   แต่มีไฟป่าเผาทุกปีจึงออกสีดำคล้ำ

ใบ   ใบเดี่ยว  ออกเรียงเวียนกันตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร  ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบบางและเหนียว ขอบใบหยักเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ 9-15 เส้น ก้านใบยาว  0.3-2.5 เซนติเมตร ใบแก่ก่อนร่วงสีแสด

ดอก     สีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกๆละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก
4 กลีบ  สีขาวหลุดร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก สีแดงปลายขาว เรียงเป็นชั้นๆ โคนเชื่อมติดกัน มีดอกพร้อมใบอ่อน ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-8 เซนติเมตร

ผล  ผลสดเเบบมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลม อวบน้ำ ขนาด 5-7 เซนติเมตร เมล็ดจำนวนมาก มีเยื่อหุ้ม

ระยะการเป็นดอก-ผล :  ดอก ธ.ค.-ก.พ./ ผล มี.ค.-พ.ค.

สรรพคุณทางยา 
เปลือก และผล
ใช้เป็นยาฝาดสมาน

ใบ
มีสาร tannin19 เปอร์เซ็นต์ ใบจะมีรสฝาด ใช้ปรุงเป็นน้ำมัน ช่วยในการสมานแผล หรือ  จะนำมาผสม กับยา อย่างอื่น

ดอกและน้ำจากเปลือกสด
นำมาใช้ผสมกับน้ำผึ้ง นำมาทา เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ เป็นยาบำรุง สำหรับสตรี หลังจากคลอดเสร็จ

ผล
เป็นยา ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี

เมล็ด
สามารถนำมาเป็นยาแก้พิษ

ราก เปลือก และใบ
ใช้เป็นยาเบื่อปลา

นิเวศวิทยา  
ป่าเบญจพรรณชื้น ป่าแดงและป่าหญ้า

ประโยชน์
เปลือก-ทำเชือก
ดอก-เป็นยาบำรุงภายหลังการคลอดบุตร
ใบ-รักษาแผล
ใบอ่อน-ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก ก้อย ลาบ และผักประกอบเมี่ยงมดแดง (เมี่ยงแบบ อีสาน)
เนื้อไม้-มีประโยชน์หลาย อย่างเช่นใช้ในการสร้างบ้านเรือนและทำเครื่องเรือนทำเรือและพายทำครกสากทำเกวียนและเพลาได้เป็นไม้เนื้อแข็งใช้ทำเป็นหมอนรองรถไฟได้ดี

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : 
ทรงพุ่มกลมทึบ ใบใหญ่ ปลูกในสวนสาธารณะจะมองเห็นทรงพุ่ม เด่น ไม่ควรใช้ในลานจอดรถ เพราะผลค่อนข้างโตและผลัดใบ

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดอ่อนและดอกอ่อนรสฝาดอมมันผักระโดน100กรัมให้พลังงานต่อร่างกาย83กิโลแคลอรี่มีเส้นใย 1.9 กรัม,แคลเซียม13มิลลิกรัม,ฟอสฟอรัส18มิลลิกรัม,เหล็ก1.7มิลลิกรัม,วิตามินเอ3958IU,วิตามินบี หนึ่ง0.10มิลลิกรัม,วิตามินบีสอง0.88มิลลิกรัม,ไนอาซิน1.8มิลลิกรัม,วิตามินซี126มิลลิกรัม

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนและดอกอ่อนสำหรับความนิยมของกระโดนน้ำและกระโดนบกนับว่า ชาวอีสานนิยมกระโดนน้ำมากกว่ากระโดนบกและมีรสชาติอร่อยกว่าฝาดน้อยกว่าส่วนกระโดนบกชาวบ้าน ก็จะเลือกต้นที่มียอดสีเขียวอ่อนมากกว่าต้นที่มียอดอ่อนสีแดง

ความนิยมในการรับประทานผักกระโดนของชาวอีสานลดน้อยลงบ้างเพราะเชื่อว่าผักกระโดนทำให้เป็นนื่วได้แต่ทว่าวงจรของอาหารธรรมชาติจะช่วย สร้างความสมดุล   เราสังเกตได้ว่ากระโดนบกและกระโดนน้ำจะผลิยอดอ่อนคนละฤดูกาลกระโดนน้ำจะออกยอดอ่อนกลางฤดูฝน(เดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม)  และจะออกยอดให้เก็บได้บ่อยๆ   ส่วนกระโดนบกจะออกยอดอ่อนปลายฤดูแล้ง(เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน)  ต่อต้นฤดูฝนหรือในช่วงเริ่มลงนา   ซึ่งในระยะนี้ อาหารโปรตีนในธรรมชาติจะมีปริมาณสูงขึ้นเช่น กบ ปลาแมงกี่  นูนแมงกุดจี่  ไข่มดแดง  เป็นต้น  เช่นกันจากการวิจัยพบว่าถ้าร่างกายได้ปริมาณสารออกซาเลทหรือกรดออกซาลิคในปริมาณสูงและได้รับสารโปรตีนในปริมาณต่ำ  อาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ  โอกาสที่จะขาดสารโปรตีนจะน้อยลง

นอกจากนี้ในกระโดน(สด) 100กรัม  ประกอบด้วยปริมาณออกซาเลท 59 มิลลิกรัม  (น้อยกว่าผักโขม 16 เท่าและน้อยกว่าผักชะพลู12เท่า)  อาจกล่าวได้ว่าเป็นปริมาณต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่น   การปรุงอาหารชาวอีสานชาวใต้และชาวเหนือรับประทานผักกระโดนโดยรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก   ชาวอีสานดูจะนิยมผักกระโดนน้ำมากกว่ากระโดนบกเพราะนอกจากรับประทานกับสัมตำร่วมกับลาบ  ก้อย  ยอดกระโดนบกมักจะนำมารับประทานกับยำมดแดง  ชาวบ้านมักเก็บตามป่าธรรมชาติหรือหาซื้อได้ตามตลาด สดในท้องถิ่น

ที่มา
http://www.baanmaha.com/community/thread33940.html
http://alangcity.blogspot.com/2013/01/blog-post.html