ประโยชน์ของตะไคร้

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ตะไคร้เป็นพืชสวนครัวชนิดหนึ่งที่จัดอยู่ในสมุนไพรด้วยเช่นกัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon citratus Stapf ส่วนชื่อในท้องถิ่นนั้นมีหลายชื่อที่แตกต่างกันไปในแต่ละภาคหรือจังหวัด เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “คาหอม” จังหวัดสุรินทร์เรียกว่า “เชิดเกรย” ส่วนในภาคใต้เรียกว่า “ไคร” ภาคกลางเรียกว่า “ตะไคร้แกรง” ภาคอีสานเรียกว่า “หัวคิงไค”

ลักษณะของตะไคร้

ตะไคร้มีลักษณะเป็นพืชล้มลุก โดยจะเติบโตเป็นกอใหญ่ที่มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นจะมีรูปร่างทรงกระบอกมีความเกลี้ยงเกลา ส่วนด้านผิวใบจะมีความสาก ขอบใบประกอบด้วยขนเล็กน้อยและปลายใบจะมีลักษณะแหลมคม หากต้องการขยายพันธุ์ก็ให้ใช้ส่วนเหง้าของตะไคร้

สารอาหารหรือสารสำคัญที่พบในตะไคร้

ตะไคร้สามารถนำมาใช้สรรพคุณเป็นยา ด้วยการนำเอาส่วนต่าง ๆ ของตะไคร้มาใช้ประโยชน์นั่นเอง ซึ่งมีทั้งหมด 3 ส่วน ในการปรุงเป็นอาหารหรือทำเป็นเครื่องดื่ม นั่นก็คือส่วนเหง้า ใบ และราก โดยส่วนประกอบเหล่านี้มีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย ทั้งวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โฟเลต แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมงกานีส เป็นต้น

ประโยชน์ด้านสุขภาพที่ได้จากตะไคร้

  1. ขับสารพิษและกรดยูริกออกจากร่างกาย เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในตะไคร้จะช่วยทำความสะอาดระบบย่อยอาหาร เช่น ตับ ตับอ่อน ไต และกระเพาะอาหาร ทำให้การทำงานของระบบการย่อยอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะชาตะไคร้ที่สามารถช่วยลดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติและยังสามารถลดแก๊สในลำไส้ได้ดี ยิ่งถ้าเป็นคนธาตุไฟก็ไม่ควรละเลยในการรับประทานตะไคร้เป็นสมุนไพร
  2. ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ รวมไปถึงลดอาการอักเสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อต่อ
  3. ป้องกันโรคนิ่วและแก้ปัสสาวะพิการ ด้วยการทำเครื่องดื่มตะไคร้โดยเริ่มต้นจากการใช้เหง้าฝานบาง ๆ ชงเป็นยาแล้วดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือประมาณ 1 ถ้วยชาม
  4. ช่วยลดความดันโลหิตสูง ซึ่งจะใช้ส่วนใบของตะไคร้นำมาชงดื่ม ในกรณีที่มีอาการไข้ขึ้นนั้นสามารถใช้ได้ทั้งใบและรากของตะไคร้ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้เร็ว

ตะไคร้มีคุณประโยชน์มากต่อสุขภาพทุกคนและจะดีไม่น้อยเลยหากปลูกติดบ้านเอาไว้ เพื่อลิ้มรสสมุนไพรไทยในทุกครั้งที่ทำอาหารหรือจะชงเป็นเครื่องดื่มก็ได้ตามใจชอบ อาจเรียกได้ว่าเป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการของโรคได้ดีเลยทีเดียว ยิ่งถ้าได้รับประทานอย่างสม่ำเสมอก็จะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย