“มะเร็ง” มีวิธีสังเกตอาการหรือไม่ อาการแบบไหนแสดงว่ากำลังป่วย “มะเร็ง”

มะเร็ง

มะเร็งคือกลุ่มของโรคหลายโรค ที่มีลักษณะร่วมกันคือมีการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ และมีความสามารถที่จะรุกล้ำหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ จัดเป็นชนิดหนึ่งของเนื้องอก เนื้องอกหมายถึงกลุ่มของเซลล์ที่มีการเจริญอย่างไม่มีการควบคุม มักเกิดเป็นก้อน แต่ก็อาจเกิดเป็นลักษณะแผ่กว้างได้

ลักษณะเฉพาะของความเป็นมะเร็ง

ปัจจุบันถือว่าเซลล์ที่จะนับว่าเป็นเซลล์มะเร็งต้องมีลักษณะเฉพาะของความเป็นมะเร็ง ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่จำเป็นต่อการดำเนินโรคของมะเร็ง ได้แก่

– มีการเจริญของเซลล์และการแบ่งเซลล์ได้โดยไม่ต้องมีสัญญาณกระตุ้นตามปกติ
– มีการเจริญของเซลล์และการแบ่งเซลล์ได้แม้จะมีสัญญาณยับยั้ง
– มีกลไกหลีกเลี่ยงการทำให้เซลล์ตายตามปกติ
– มีความสามารถที่จะแบ่งเซลล์ได้โดยไม่มีจำนวนจำกัด
– มีการสร้างหลอดเลือดใหม่
– มีการรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง และมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังตำแหน่งห่างไกลได้
– การที่เซลล์ปกติจะกลายเป็นเซลล์ที่เพิ่มจำนวนจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกและกลายเป็นมะเร็งเต็มขั้นนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอน ขั้นตอนเหล่านี้เรียกว่าการพัฒนาของมะเร็ง

การแพทย์แผนไทยมีการใช้คำว่า “มะเร็ง” ในความหมายถึงโรคต่างๆ ที่รักษาได้ยาก แสดงอาการในระยะท้าย ซึ่งอาจนับรวมโรคอื่นๆ ที่ไม่ตรงนิยามของมะเร็งในการแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามาด้วย เช่น ฝีเรื้อรัง ริดสีดวง เป็นต้น

อาการแสดงของมะเร็ง

ในระยะเริ่มต้นของมะเร็งผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ ต่อเมื่อขนาดของก้อนเริ่มโตขึ้นหรือเริ่มเกิดเป็นแผลจึงอาจจะมีอาการหรืออาการแสดงได้ ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็ง อาการส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่มีความจำเพาะ สามารถพบได้บ่อยในภาวะอื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง จึงถือได้ว่ามะเร็งเป็นโรคนักเลียนแบบอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จึงมักได้รับการรักษาภาวะอื่นมาระยะหนึ่งก่อน ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง

อาการเฉพาะที่

ผู้ป่วยอาจมีอาการเฉพาะที่จากผลของตัวก้อนที่ขยายขนาดขึ้น ตัวอย่างเช่น

– ผลจากก้อนของมะเร็งปอดอาจกดเบียดหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ หรือเกิดปอดอักเสบได้ง่ายขึ้น
– มะเร็งหลอดอาหารทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบากหรือกลืนเจ็บ
– มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจทำให้เกิดการตีบแคบหรือการอุดกั้นของลำไส้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติไป
– ก้อนในเต้านมหรืออัณฑะอาจปรากฏเป็นก้อนให้ผู้ป่วยสังเกตได้ชัดเจน

อาการบางอย่างอาจเกิดจากการเกิดแผลที่ก้อนมะเร็ง เช่น
– ในปอดอาจทำให้มีอาการไอเป็นเลือด
– ในลำไส้ทำให้ผู้ป่วยค่อย ๆ เสียเลือดจนมีอาการซีด หรือเลือดออกมากจนเห็นเป็นเลือดปนมากับอุจจาระได้
– ในกระเพาะปัสสาวะอาจทำให้มีอาการปัสสาวะเป็นเลือด
– ในมดลูกทำให้มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นต้น

ผู้ป่วยระยะลุกลามบางรายอาจมีอาการเจ็บจากตัวก้อนได้ แต่ในระยะแรกที่ก้อนเพิ่งเริ่มขยายขนาดผู้ป่วยมักไม่มีอาการเจ็บจากตัวก้อน

มะเร็งบางชนิดอาจทำให้เกิดของเหลวสะสมในโพรงร่างกาย เช่นในช่องอก หรือช่องท้องได้

อาการที่เป็นระบบ

เป็นอาการที่เกิดขึ้นทั่วไปเนื่องจากผลกระทบที่อยู่ไกลจากตำแหน่งของโรคมะเร็งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายโดยหรือเป็นการแพร่กระจายของโรค อาการเหล่านี้อาจรวมถึง:

– น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ
– เป็นไข้
– เหนื่อยมากเกินไป
– มีการเปลี่ยนแปลงกับผิว
– มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแพร่กระจายช้า(Hodgkin disease), โรคเม็ดโลหิตขาวผิดปกติ leukemias), และโรคมะเร็งตับหรือโรคมะเร็งไตอาจทำให้เกิดไข้ถาวรไม่ทราบที่มา

มะเร็งบางชนิดอาจทำให้เกิดกลุ่มอาการเฉพาะของระบบที่เรียกว่าปรากฏการณ์ paraneoplastic ตัวอย่างเช่น

– โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (myasthenia gravis) ในเนื้องอกต่อมไทมัส (thymoma)
– อาการปลายนิ้วโต clubbing) ในโรคมะเร็งปอด

การแพร่กระจาย

มะเร็งสามารถแพร่กระจายจากจุดกำเนิดเดิมของมันโดยการแพร่กระจายเฉพาะที่, การแพร่กระจายผ่านทางน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองในภูมิภาคหรือผ่านทางเลือด (การแพร่กระจาย แบบ haematogenous) ไปยังเนื้อเยื่ออื่นที่ไกลออกไป

การแพร่กระจายทั้งหมดนี้เรียกว่า metastasis เมื่อมะเร็งแพร่กระจายไปตามเส้นทาง haematogenous มันก็มักจะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย
อาการของการเกิดโรคมะเร็งในระยะแพร่กระจายขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอกและอาจรวมถึง

– ต่อมน้ำเหลืองโต (ซึ่งสามารถรู้สึกได้หรือบางครั้งก็เห็นได้ใต้ผิวหนังและมักจะแข็ง)
– ตับโตหรือม้ามโตซึ่งสามารถรู้สึกได้ในช่องท้อง
– รู้สึกเจ็บปวดหรือเศษหักของกระดูกและอาการทางระบบประสาท

ข้อมูลอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/มะเร็ง