รู้หรือไม่? “มะเร็ง” ถือเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้

มะเร็ง

การป้องกันโรคมะเร็งมีการกำหนดเป็นมาตรการที่จริงจังเพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้บางส่วนเป็นการเลือกวิถีชีวิตที่สามารถควบคุมได้

ดังนั้นโรคมะเร็งถือว่าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง

มากกว่า 30% ของการเสียชีวิตจากมะเร็งสามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ :

– บุหรี่
– การมีน้ำหนักเกิน / โรคอ้วน
– อาหารที่ไม่เพียงพอ
– ขาดการออกกำลังกาย
– เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
– การติดเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์
– มลพิษทางอากาศ

สาเหตุด้านสิ่งแวดล้อมไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด เช่น
– การเกิดขึ้นตามธรรมชาติของรังสี
– โรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม

ดังนั้นมันจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกันโรคมะเร็งได้ทุกกรณี

อาหาร ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้หรือไม่

ในขณะที่มีคำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารจำนวนมากได้รับการนำเสนอเพื่อลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง แต่หลักฐานที่จะสนับสนุนคำแนะนำนั้นไม่ค่อยชัดเจน

– ปัจจัยการบริโภคอาหารขั้นต้นที่เพิ่มความเสี่ยงคือการเป็นโรคอ้วนและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

– แต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่ต่ำและเนื้อแดงในปริมาณที่สูงไม่ได้รับการยืนยัน ในรายงานของ meta-analysis ปี 2014 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผักและผลไม้กับโรคมะเร็ง

– การบริโภคกาแฟมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับ

– การศึกษาได้เชื่อมโยงการบริโภคมากเกินไปของเนื้อสีแดงหรือเนื้อผ่านการกระบวนการเข้ากับการเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่, และมะเร็งตับอ่อน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุให้พบสารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกที่อุณหภูมิสูง

– คำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันโรคมะเร็งมักจะรวมถึงการให้ความสำคัญกับผัก ผลไม้ ธัญพืช และปลา และหลีกเลี่ยงเนื้อผ่านกระบวนการและเนื้อแดง (เนื้อวัว, เนื้อหมู, เนื้อแกะ) ไขมันสัตว์และ คาร์โบไฮเดรตกลั่น

ยา ป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่

แนวคิดที่ว่ายาสามารถใช้ในการป้องกันโรคมะเร็งได้เป็นที่น่าสนใจ และมีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาในไม่กี่สถานการณ์ที่กำหนดไว้ ในประชากรทั่วไป

– ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช้สตีรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drug (NSAIDs)) อาจลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่เนื่องจากมันมีผลกระทบแบบ side effect ต่อหัวใจและหลอดเลือดและระบบทางเดินอาหาร ยาดังกล่าวจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายโดยรวมเมื่อนำมาใช้

– แอสไพรินถูกพบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ประมาณ 7%

– COX-2 inhibitor อาจลดอัตราการก่อตัวของติ่งเนื้อ (polyp) ในผู้ที่มีโรคติ่งเนื้อเมือกมากของเนื้องอกไม่ร้ายที่เนื้อเยื่อบุผิวที่มีโครงสร้างคล้ายต่อม (familial adenomatous polyposis) อย่างไรก็ตาม มันมีผลกระทบเช่นเดียวกับยากลุ่ม NSAIDs

– การใช้ยา tamoxifen หรือ raloxifene เป็นประจำวันได้แสดงให้เห็นถึงการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อเอาประโยชน์มาเทียบกับอันตรายสำหรับยายับยั้งเอนไซม์ชื่อ 5-alpha-reductase inhibitor เช่นตัวยา finasteride แล้ว ประโยชน์ยังไม่ชัดเจน

วิตามิน ป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่

วิตามินยังไม่ได้ถูกพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งได้

– แม้ว่าระดับเลือดต่ำของวิตามินดีจะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง ความสัมพันธ์นี้จะเป็นสาเหตุหรือไม่และอาหารเสริมวิตามินดีสามารถช่วยในการป้องกันหรือไม่นั้นยังไม่ได้มีการค้นหาความจริงอย่างแน่วแน่

– การเสริมเบต้าแคโรทีนมีการค้นพบว่าใช้เพิ่มอัตราการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

– การเสริมกรดโฟลิกยังไม่พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่อาจเพิ่มติ่งลำไส้ใหญ่

– ยังไม่มีความชัดเจนว่าการเสริมซีลีเนียมมีประโยชน์

การฉีดวัคซีน ป้องกันโรคมะเร็งได้หรือไม่

วัคซีนได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสารก่อมะเร็งบางชนิด

– วัคซีน Human papillomavirus (Gardasil และ Cervarix) ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก

– วัคซีนตับอักเสบจากไวรัสชนิด บี ป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบชนิด บี ดังนั้นมันจึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับได้

ข้อมูลอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/มะเร็ง