สัญญาณเตือนอาหารไม่ย่อย พร้อมคำแนะนำบอกลาอาการ

กระเพาะอาหาร และ หลอดอาหาร ลำไส้ และ ระบบขับถ่าย

เคยเป็นไหมคะ ตอนทานอาหารก็สนุกดีอยู่หรอกค่ะ แต่พอหลังทานอาหารหลายคนกลับทรมานกับอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมือนอาหารไม่ย่อย จนบางคนถึงขั้นต้องพกยาช่วยย่อยติดตัวไว้เลย เราจะมาทำความรู้สึกอาการอาหารไม่ย่อย และคำแนะนำที่จะช่วยให้เรามีความสุขกับการทานอาหารมากขึ้น

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia, Indigestion) จะมีอาการจุดเสียด แน่นท้อง ซึ่งอาจเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการทานอาหาร เช่น การทานอาหารมากเกินไป หรือเร็วเกินไป การทานอาหารที่มัน เลี่ยน อาหารรสเผ็ดจัด รวมถึงการมีภาวะเครียด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่แสดงว่าเรากำลังมีความผิดปกติ หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเพาะอาหารและลำไส้เท่านั้นนะคะ ยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่น ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจล้มเหลว วัณโรคปอด มะเร็ง และภาวะโลหิตเป็นพิษจากภาวะไตวาย

สาเหตุของอาหารไม่ย่อย มีด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้
1. ความเครียด ความวิตกกังวล รวมถึงความเหนื่อยล้าทางร่างกาย
2. การทานยาในกลุ่ม NSAIDs กลูโคคอติคอยล์ หรือยาปฏิชีวินะ ซึ่งจะทำให้กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง เป็นเหตุให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยได้
3. มีแก๊สในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ที่มีอาการเช่นนี้มักจะเรอออกมา และมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย

กลุ่มโรคที่อาการคล้าย ๆ กับอาการอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักถูกวินิจฉัยผิด ได่แก่
– โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease : GERD) โดยมากจะมีอาการแสบร้อนในทรวงอก (ปวดหรือแสบร้อนในกระเพาะอาหารส่วนบนท้อง หรือหน้าอก)
– โรคหัวใจวาย (heart attack) จะมีอาการคล้าย ๆ กับโรคกรดไหลย้อน และยังมีอาการอื่น ๆ ได้แก่ ปวดกราม ปวดหลัง เหงื่ออกมากผิดปกติ วิตกกังวล รู้สึกเหมือนใกล้จะตาย
– นิ่วในถุงน้ำดี จะมีอาการท้องอืด มีลมในกระเพาะอาหาร ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะเสียดท้องแถว ๆ ลิ้นปี หลังการทานอาหารมัน ๆ อาการปวดดังกล่าว จะปวดแค่ 15 นาทีและจะหายภายใน 2-6 ชั่วโมง

คำแนะนำในการดูแลตัวเอง
1. ไม่ควรทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด มัน เลี่ยน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2. ควรหลีกเลี่ยงสภาะวเครียด เพราะยิ่งทำให้อาการอาหารไม่ย่อยเป็นมากขึ้น
3. ควรหลีกเลี่ยงการโค้งงอตัว หรือนอนราบหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ เพื่อช่วยป้องกันกรดไหลย้อน ทำให้มอาการแสบอกได้ อีกทั้งควรงดการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อไม่ให้อากาศ หรือแก๊ส เข้าสู่กระเพาะอาหารมากขึ้น


4. ในขณะทานอาหาร ควรเคี้ยวอย่างช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียด ไม่ควรทานอาหารอย่างเร่งรีบ เร็วเกินไป เพราะจะส่งผลให้อาหารไม่ย่อย หรือย่อยยากมากขึ้น
5. ควรทานอาหารในปริมาณที่พออิ่ม ไม่ทานมากเกินไป
6. การใช้ยาลดกรดจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดจากแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจช่วยสมานแผลได้เร็วขึ้น
7. ควรหลีกเลี่ยงการใส่เข็มขัดที่แน่นจนเกินไป
8. ควรรีบปรึกษาแพทย์ ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติมากขึ้น หรือมีอาการปวดท้องบ่อยและนานขึ้น เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาได้อย่างถูกต้อง

เห็นไหมล่ะคะว่าอาการอาหารไม่ย่อยไม่ได้เป็นโรคที่อยู่ไกลตัวเราเลย เรียกว่าอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานี่เอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตย่อมส่งผลที่ดีต่อร่างกายของเรานะคะ รูอย่างนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะไม่ต้องมาทรมานกับอาหารไม่ย่อยแล้วค่ะ