หางนกยูง

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์  Delonix regia  Bojer ex Hook.

ชื่อวงศ์     Leguminosae  (Caesalpiniaceae)

ชื่อสามัญ  Flame buoyant Tree,  Flame of the forest, Peacock flower

ชื่อท้องถิ่น   นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลางทั่วไป), ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ),  หงอนยูง (ภาคใต้)

ลักษณะ

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางต้นโตเต็มที่สูงราว 12- 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม แผ่กิ่งก้านออกคล้ายจามจุรี แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม

โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่

ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกันขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ผิวใบเกลี้ยง เป็นพืชผลัดใบ ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน

ดอก  ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้นเหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบและเกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือกลีบดอก กลีบดอกหางนกยูงความจริงประกอบด้วยสี 2สี คือสีแดงและ สีเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะมี 2 สีนี้อยู่ด้วยกันจึงเห็นเป็นสีแสด ดอกใดที่สีเหลืองมากกว่าก็เป็นสีแสดออกเหลืองดอกใดสีแดงมากกว่าก็เป็นสีแสดออกแดง แต่ก็มีหางนกยูงบางต้นออกดอกสีแดงแท้ๆและบางต้นออกดอกสีเหลืองบริสุทธิ์ซึ่งหาได้ยาก โดยทั่วไปจึงพบแต่หางนกยูงฝรั่งสีแสด

ผลของหางนกยูงฝรั่งเป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ และเมล็ดเรียงตามขวาง

สรรพคุณทางยา 

ราก นำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหาร เป็นยาขับโลหิตในสตรีแก้อาการบวมต่างๆ

ลำต้น นำมาฝนทาแก้พิษ ถอนพิษสัตว์ต่อยกัดได้

เมล็ดอ่อน ของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆได้

เมล็ดแก่ ต้องนำมาทำให้สุกเสียก่อนจึงจะใช้กินได้เพราะมีสารประกอบบางชนิดที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน