เบญจมาศเครือ หรือ กระดุมทองเลื้อย

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia trilobata (L.) Hitchc.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ชื่อสามัญ : Climbing wedelia, Creeping daisy, Singapore daisy
ชื่อพื้นเมือง : เบญจมาศเครือ

ลักษณะ: 
ไม้เลื้อยคลุมดิน ลำต้นแตกแขนงทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ปลายกิ่งมักชูตั้งขึ้น ลำต้นสีน้ำตาลแดงเรื่อ มีขนประปราย รากแตกตามช่อ

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 2- 5 เซนติเมตร ยาว 5.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเล็กน้อย มีจักเป็นรูปสามเหลี่ยมกลางแผ่นใบทั้ง 2 ข้าง ก้านใบสั้นมาก

ดอก : สีเหลือง ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ4-5 ใบ ที่ขอบใบประดับมีขน ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมียมี 8-10 ดอก โคนกลีบดอกวงนอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีขนาดเล็กกว่าและจำนวนมากกว่า โคนกลีบดอกวงในเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก

ผล  : ผลแห้ง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ปลายยอดผลมีเยื่อสีขาวรูปถ้วย เมล็ดล่อน รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม สีดำเป็นมัน

สรรพคุณ :
ส่วนยอดของต้นกระดุมทองเลื้อย นำมารับประทานแกล้มกับลาบ และจากการศึกษาสรรพคุณของกระดุมทองเลื้อย ในด้านนำมาใช้ประโยชน์ด้านพืชสมุนไพรมีการค้นพบสรรพคุณว่าสามารถนำมารับประทานเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร จากการศึกษาพบว่าระดับค่า pH ของการจำลองสภาพกรดในกระเพาะอาหาร มาตรวจวัดหาค่า pH แล้วนำมาเปรียบเทียบ กับน้ำกระดุมทอง จากผลการทดลองพบว่ากระดุมทองเลื้อยมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งน้ำกระดุมสดมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับยาลดกรดมากกว่าน้ำกระดุมทองแห้ง

การใช้งานด้านภูมิทัศน์  : 
ปลูกคลุมดินบริเวณพื้นที่ลาดเอียงหรือริมสระน้ำธรรมชาติ เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ปลูกบริเวณเกาะกลางถนนแทนหญ้า

ที่มา
http://www.watsadet.ac.th/increase_data/flowers/flowers.html#t33
http://goo.gl/7avln
http://www.stks.or.th/botany/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=33
http://www.flickr.com/photos/phuonglovejesus2782010/8013641928/
http://www.tup.ac.th/pasinee/maipra/3short/small/1kradumtong_ped.html