เหงือกปลาหมอ

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   เหงือกปลาหมอดอกขาว ชื่อ Acanthus ebracteatus  Vahl
เหงือกปลาหมอดอกม่วง ชื่อ Acanthus ilicifolius  Linn. 
ชื่อวงศ์ :     Acanthaceae
ชื่อสามัญ :   Sea holly
ชื่ออื่นๆ (เหงือกปลาหมอดอกม่วง)   แก้มหมอ (สตูล) แก้มหมอเล (กระบี่) อีเกร็ง (ภาคกลาง) จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ส่วนที่เรียกว่า แก้มหมอ ที่จังหวัด สตูลนั้น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthus integrifolia T. Ander.

และยังมีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เหงือกปลาหมอเครือ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthus volubilis Wall.

ลักษณะ : 
เหงือกปลาหมอดอกขาวไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็ก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง สีขาวอมเขียว มีหนามตามข้อ ข้อละ 4 หนาม และที่ปลายใบ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร
เหงือกปลาหมอดอกม่วง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.0 เมตร พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ใบรูปหอกยาว ขอบจักเว้ากว้างๆ ปลายจักแหลมคล้ายหนาม แต่บางครั้งอาจพบใบเรียบ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร แผ่นใบสีเขียวเข้ม เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา มีหนามรอบใบ แผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น เนื้อใบเหนียว ก้านใบสั้น

ดอก ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ออกเป็นช่อตั้งสีขาว บริเวณปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ใบประกอบห่อเป็นช่อตั้ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปเรียว 2 อัน รองรับที่โคนดอก และติดอยู่จนดอกบาน กลีบดอกเป็นท่อปลายบานโตสีขาว ยาว 2-4 เซนติเมตร แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่างมีขนาดใหญ่กว่า  ปากบนหดสั้น กลีบเลี้ยง มี 5 กลีบ

ผล เป็นฝักกลมรี รูปไข่ ยาว 2-3 เซนติเมตร เปลือกสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดขนาดเล็ก 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ พบตามป่าชายเลน หรือดินเค็มแถบภาคอีสาน

ส่วนที่ใช้ :  ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง  ราก เมล็ด

สรรพคุณ :
ต้นทั้งสดและแห้ง – แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
ใบ – เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย  เป็นยาอายุวัฒนะโดยปรุงรวมกับพริกไทย
ราก  
–  ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
–  รักษามุตกิดระดูขาว
เมล็ด  
– ปิดพอกฝี
– ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย
ใบ คั้นน้ำทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ต้นและใบสด 3-4 กำมือ ล้างให้สะอาด นำมาสับ ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน ใช้ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี 
ใบ ต้มกับน้ำดื่ม แก้นิ่วในไต ทั้งต้น 10 ส่วน เข้ากับพริกไทย 5 ส่วน ทำเป็นยาลูกกลอน แก้โรคกระเพาะ ขับเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ
ทั้งต้น ใช้รักษาแผลฝีหนอง

ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา
ใบและต้น แก้ตกขาว โดยตำเป็นผงละลายน้ำผึ้ง หรือน้ำมันงา ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทาน

ตำรายาไทย
ใบ รสเค็มกร่อยร้อน ตัดรากฝีภายใน และภายนอกทุกชนิด แก้น้ำเหลืองเสีย ปรุงกับฟ้าทะลายโจร รมหัวริดสีดวงทวาร
คั้นน้ำจากใบ  ทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม แก้ประดง
ใบ  เป็นยาอายุวัฒนะโดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด
ใบสด นำมาต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ลมพิษฝี แก้ฝีทราง
ใบสด  นำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัด พอกฝี และแผลอักเสบ
ต้นและเมล็ด   มีรสเผ็ดร้อน รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ด เป็นยาขับพยาธิ
เมล็ดผสมกับดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกันเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับเลือด
เมล็ด  คั่วให้เกรียม นำมาป่นให้ละเอียดชงกินกับน้ำ เป็นยาแก้ฝี
ทั้งต้น มีรสเค็มกร่อย  รักษาโรคผิวหนังจำพวกพุพอง น้ำเหลืองเสีย ใช้ 3-4 ต้น หั่นเป็นชิ้น ต้มน้ำอาบหรือชะล้างบาดแผลเรื้อรัง และผื่นคันตามร่างกาย  ต้มรับประทานแก้พิษฝีดาษ พิษฝีภายใน ตัดรากฝีทั้งปวง แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย เป็นยาอายุวัฒนะ ต้มอาบ แก้พิษไข้หัว แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ตำพอก ปิดหัวฝี แผลเรื้อรัง คั้นเอาน้ำทาศีรษะบำรุงรากผม
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคงูสวัด

สารเคมี : alkaloid, benzoxalinone , protein

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งการสร้าง leukotriene B4 ต้านการก่อมะเร็ง ยับยั้งเอนไซม์ aniline hydroxylase ต้านการก่อกลายพันธุ์

โรคภูมิแพ้(น้ำเหลืองเสีย)
โรคภูมิแพ้ในสมัยก่อนมักจะเรียกว่าโรคน้ำเหลืองเสีย คือจะมีผื่นขึ้นบ่อยอะไรนิดอะไรหน่อยก็เป็นตุ่ม รวมถึงการเป็นฝีต่าง ๆ ง่ายด้วย ในขณะที่โรคภูมิแพ้ในปัจจุบันจะรวมอาการเป็นหวัด คัดจมูก ไอ จาม หอบหืด เข้าไปด้วย
โรคน้ำเหลืองเสีย   ในสมัยก่อนนิยมใช้ ต้นเหงือกปลาหมอ ใครที่มีปัญหาผิวหนัง พวกผดผื่นคัน ผื่นขึ้นเกาแล้วมีน้ำเหลือง มีไข้เป็นผื่นหรือเป็นฝีบ่อย ๆ เขาจะเลือกใช้เหงือกปลาหมอมาต้มทั้งกินทั้งอาบ ไม่เกินเจ็ดวันหาย ถ้ายังกลับมาเป็นใหม่ก็ต้องใช้วิธีปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนหรือใส่แคปซูลกินไปเรื่อย ๆ อย่างน้อย 3 เดือนจนกว่าจะหายขาด ในรายที่เป็นฝี ต้องใช้วิธีกิน จะต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนหรือใส่แคปซูลก็ได้ สมัยก่อนยังนิยมใช้เหงือกปลาหมอเป็นยาอายุวัฒนะ โดยบดเป็นผงละลายน้ำผึ้งกิน

นอกจากนี้เหงือกปลาหมอยังมีสรรพคุณ แก้หวัด แก้หอบหืด ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ ริดสีดวงทวาร จนมีคนกล่าวว่าเป็นสมุนไพรรักษาได้สารพัดโรค เขาจึงแนะนำให้กินเป็นยาอายุวัฒนะ

ต้นตำผสม น้ำดื่มรักษาวัณโรค อาการซูบผอมถ้าใช้ทา ก็ช่วยแก้โรคเหน็บชาได้ หรืออาจใช้ลำต้นไปผสมกับสมุนไพรอื่นๆก็จะได้สรรพคุณทาง ยาแตกต่างกันออกไปอีก
ตำผสมกับขิง แก้ไข้หนาวสั่น
ตำผสมกับขมิ้นอ้อย ใช้พอกฝี
ตำผสมขมิ้นอ้อยและน้ำมัน ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร
ตำผสมน้ำมันงา – น้ำผึ้ง รับประทานแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
ตำผสมกับพริกไทย โดยใช้อัตราส่วน 2 ต่อ 1 เคล้าน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนเป็นยาอายุวัฒนะช่วยให้
ตำผสมกับหัวสามสิบ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ใช้เป็นยาสมานแผล
บดผสมกับชะเอมเทศ ละลายน้ำ ใช้บริโภคแก้เจ็บหลัง เจ็บเอว

ใบ ต้มกับดอกมะเฟือง อบเชย  อ้อยแดงและน้ำตาล ทราย ใช้แก้ไอได้ผลดี
นำใบอ่อนต้มกับเปลือกอบเชยดื่มแก้ท้องเฟ้อได้
ใช้ประคบก็แก้ปวดข้อได้
ใบตำผสม กับพริกไทยและผสมน้ำผึ้งรับประทานเป็นอายุวัฒนะ ช่วยให้ เจริญอาหาร
ต้นและใบ แก้ฝี น้ำเหลืองเสีย เบาหวาน
ฝัก ต้มรับประทานขับโลหิต แก้ฝี
เมล็ด ใช้พอกฝี ขับพยาธิ น้ำเหลืองเสียก็ได้
ทั้ง 5 (ราก , ต้น , ใบ , ดอก , ผลฝัก และเมล็ด ) หั่นละเอียดตาก แห้ง บดละเอียด ผสมเกลือป่นเล็กน้อย ผสมกับพริกไทย อัตราส่วน 2 ต่อ 1 เคล้าด้วยน้ำผึ้ง  ปั้นเป็นลูก กลอน แก้ริดสีดวงจมูก หรือโรคไซนัสได้ดี

ตำรายา
แก้ริดสีดวงงอก ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5  โขลกรวมกับหัว ขมิ้นอ้อย เอามาผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือปัสสาวะเด็กผู้ชาย อายุ ไม่ เกิน ๓ ขวบ ทาตรงที่งอกหลายๆครั้ง ก็จะหายไปเอง
แก้เจ็บตา ตาแดง ตาฝ้า ต้าฟาง ตาต้อ ใช้ต้นเหงือกปลา หมอทั้ง 5 โขลกรวมกับหัวขิง หนักเท่าๆกัน คั้นเอาน้ำหยอดตา อาการ จะค่อยๆบรรเทาลง สุดท้ายก็จะหายสนิท
แก้เหน็บชาทั่วร่างกาย ใช้ต้นเหงือกปลาหมอทั้ง 5 เอามา โขลกให้ละเอียด ทาหรือพอกบริเวณที่เจ็บหรือชา อาการจะหายไปหมด สิ้น
แก้มะเร็งผิวหนังแตกทั้งตัว ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง5 พริก ขี้หนู ดีปลี อย่างละ 2 บาท เท่าๆกัน บดผง ละลายน้ำร้อน รับประทาน ทุกวัน โรคก็จะหาย 5 กับ ชะเอมเทศ โขลกหรือบดเป็นผง ละลายกับน้ำร้อน แล้วรับประทานทุก วัน อาการที่เป็นอยู่จะหายไป
แก้อาการหน้ามืด ตามัวบ่อยๆ ให้ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 กะเพราทั้ง 2 เจตมูลเพลิง ทองหลางใบมน(เอาแต่ใบ) บดระเพ็ด แสมสาร อย่างละเท่าๆกัน หนัก 1 บาท โขลกรวมกัน ให้ละเอียด ควัก เอามาปิดไว้บนกระหม่อมของผู้ป่วย แล้วเอาเหล็กมาเผาไฟให้ร้อนจัด วางทับลงไปบนตัวยานั้นอีกชั้นหนึ่ง แล้วอาการที่เป็นอยู่จะพลันหายไป
แก้บวม ช้ำ แก้ฝี ใช้เหงือกปลาหมดทั้ง 5  และขมิ้นอ้อย อย่าง ละเท่าๆกัน โขลกให้ละเอียด ทาหรือแปะไว้ตรงฝี จะค่อยๆยุบหายไป

ตำราโบราณอีกขนานหนึ่ง
ตำรายานี้ได้มาจากเมืองพิษณุโลก ท่านให้เป็นปริศนาว่า ถ้าใครคิดได้ให้ขุดลงไปจะได้ทอง 100 ตำลึง คนฉลาดแก้ปริศนาออกจึงไปขุดก็พบแผ่นศิลาปิดปากหลุมไว้อย่างมิดชิด เมื่อเปิดออกดูก็พบใบลานยาวประมาณ 1 คืบ เมื่อเอามาอ่านดูก็พบว่าเป็นตำรายาวิเศษ จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ มีใจความว่า

พระฤาษีแสดงไว้เป็นทานแก่สมณชีพราหมณาจารย์ และมนุษย์ทั่วไปทั้งหญิงและชายเพื่อจะให้บำบัดโรค ถ้าผู้ใดได้ตำรานี้แล้วขอให้บอกต่อ ๆ กันไป จะได้อานิสงส์กัลป์ ถ้าเอาตำรายานี้ไว้ไม่เชื่อถือแล้วจะต้องไปตกนรก ตำรายานี้ชื่อ ตำราต้นเหงือกปลาหมอ ถ้าเห็นต้นเหงือกปลาหมอขึ้นตรงทาง หรืออยู่ในที่ใด ๆ ก็ดี อย่าเหยียบย่ำข้ามเลย ต้นเหงือกปลาหมอนี้มีคุณวิเศษมากมายหลายอย่างคือ

1.  ถ้าเจ็บตานั้นแดง ให้เอาเหงือกปลาหมอมาตำกับหัวขิง เอาหยอดตาหายแล
2.  ถ้าเป็นเหน็บชา เท้า มือ หรือทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอมาตำทาที่เจ็บนั้นหาย
3.  ถ้างูกัด ให้เอาเหงือกปลาหมอทั้งห้ามาตำทั้งกินทั้งทา หายแล
4.  ถ้าเป็นฝีบวมขึ้นมา ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อยมารวมกันตำทา หายแล
5.  ถ้าเป็นริดสีดวงงอก ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขมิ้นอ้อยตำปนกับน้ำมันหรือน้ำมูตรทา หายแล
6.  ถ้าเป็นไข้หนาวสั่นไปทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอกับขิงตำปนกันแล้วกิน หายแล
7.  ถ้าเป็นหูหนาตาโต ให้เอาเหงือกปลาหมอตำเอาน้ำกิน แล้วเอาใบส้มป่อยต้มน้ำอาบ หายแล
8.  ถ้าเป็นมะเร็งแตกทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอ พริกไทย ดีปลี สิ่งละเท่ากัน ตำเป็นผงกินกับน้ำร้อน หายแล
9.  ถ้าเป็นผื่นแดงคันขึ้นมาเกาจะ ไม่รู้สึกเจ็บ หรือที่เรียกว่าเป็นหูหนาตาโต ให้เอาเหงือกปลาหมอมาต้ม กิน เอามาต้มกับใบส้มป่อยอาบด้วย หายแล
10.  ถ้าเป็นมะเร็ง ทำให้ลงจนตัวเหลือง ให้เอาเหงือกปลาหมอ กระชาย มะคำไก่ และสมอทั้งสาม ต้มกิน หายแล
11.  ถ้าหญิงมีระดูขาด หรือโลหิตแห้งแต่ 1 เดือนถึง 3 เดือนก็ดี ให้เจ็บผอมเหลืองทั่วสรรพางค์กาย ให้เอา เหงือกปลาหมอตำเป็นผงละลายน้ำมันงาหรือน้ำผึ้งกินทุกวันไป โรคนั้นหายแล
12.  ถ้าเจ็บหลัง เจ็บบั้นเอว ให้เอาเหงือกปลาหมอกับชะเอมเทศตำเป็นผงละลายน้ำกินทุกวัน หายแล
13.  ถ้าเป็นโรคริดสีดวงแห้ง หรือเป็นฝีในท้อง และซูบผอมไปทั้งตัว ให้เอาเหงือกปลาหมอมาตำเป็นผง ละลายน้ำกินทุกวัน หายแล
14.  ถ้าเป็นโรคริดสีดวง มือเท้าตาย ให้ร้อนไปทั้งตัว เวียนศีรษะ ตามืดมัว เจ็บทั่วตัว แลผิวตัวให้สากแห้ง อันชื่อว่าลมเพชรฆาต 38 จำพวก ให้เอาเหงือกปลาหมอกับเปลือกมะรุมเท่ากันใส่หม้อ เกลือเล็กน้อย หมาก 3 คำ เบี้ย 3 ตัว วางบนปากหม้อ เอาฟืน 30 ดุ้นต้ม ถ้าเดือดแล้วให้อึดใจยกลง เมื่อจะกินให้อึดใจ กิน หายแล
15.  ถ้าเจ็บตามตัว เมื่อยทั่วสรรพางค์กาย ให้เอาเหงือกปลาหมอตำเอาแต่น้ำกิน
16.  ถ้าช้างแทง กระบือชน หรือตกจากที่สูง หรือต้องคมอาวุธ ให้เอาเหงือกปลาหมอตำที่แผล หายแล
17.  ถ้าจะให้เจริญอายุ ท่านให้เอาเหงือกปลาหมอ 2 ส่วน พริกไทย 1 ส่วน ตำผงละลายน้ำผึ้งรับประทานทุก วัน
รับประทาน 1 เดือนจะหมดโรค จะมีสติปัญญาดี
รับประทาน 2 เดือนจะเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย
รับประทาน 3 เดือน ริดสีดวง 12 จำพวกหาย
รับประทาน 4 เดือน ลม 12 จำพวกไม่มีเลย ตาแดงดังตาครุฑ หูได้ยินดังราชสีห์
รับประทาน 5 เดือน โรคภายในจะหมดสิ้น
รับประทาน 6 เดือน จะเดินได้วันละพันโยชน์ ไม่เหนื่อยเลย
รับประทาน 7 เดือน ผิวจะผุดผ่องสวยงามดี
รับประทาน 8 เดือน เสียงเหมือนนกการะเวก
รับประทาน 9 เดือน คมหอกดาบแทงไม่เข้าเลย
ต้นเหงือกปลาหมอนี้มีคุณค่าหนักหนา เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ก็ว่าได้ ถ้ากินอาหารหรือสิ่งใดผิดสำแดงเข้าไปจะไม่มีโทษเลย
18.  ถ้าเป็นฝีที่รักแร้และที่ลำคอก็ดี ให้เอาเหงือกปลาหมอ ขมิ้นอ้อย น้ำมันงา น้ำมูตร ตำเคล้าเข้าด้วยกัน แล้วเคี่ยวเป็นน้ำมันทา หายแล
19.  ถ้าเป็นลมจับ ให้เอาเหงือกปลาหมอ 1 ส่วน พริกไทย 2 ส่วน ตำผงละลายน้ำร้อนรับประทาน แก้ลม 8 จำพวกหาย
20. ถ้าจะประสานเนื้อให้สนิท ให้เอาเหงือกปลาหมอกับหัวสามสิบเท่ากัน ตำเอาน้ำประสานแผลทาหาย สนิท
21.  ถ้าตามืดมัว ให้เอาเหงือกปลาหมอ กะเพราทั้ง 2 แสมสาร ใบทองหลางใบมน บอระเพ็ด เจตมูลเพลิง สิ่งละเท่ากันตำปิดกระหม่อม แล้วเอาเหล็กเผาไฟให้ร้อน เอามาวางทับเหนือยานั้น หายแล

ที่มา
http://bangkrod.blogspot.com/2012/07/blog-post_8395.html
http://www.thaiherb.biz/?i=5&p=142
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=130
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_7.htm