ซิโพรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin)

ยาน่ารู้
ยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม
ข้อบ่งใช้ ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของทางเดินหายใจส่วนล่าง – ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของกระดูกและข้อ – ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และกรวยไตอักเสบ – ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของลำไส้ใหญ่ เช่น โรคบิดจากเชื้
คำแนะนำในการใช้ยา – ยานี้อาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงมากขึ้น และทำให้ผิวหนังไหม้จากแสงได้ จึงไม่ควรทำงานหรืออยู่ในที่ที่มีแสงแดดส่องเป็นเวลานาน และควรป้องกันตัวเองจากแสงแดด
– ยานี้อาจทำให้ปลายประสาทอักเสบ
– ยานี้มีผลข้างเคียงต่อการทำงานของระบบประสาท อาจทำให้การตอบสนองช้าลง ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่และการทำงานกับเครื่องจักรได้ ดังนั้นระหว่างใช้ยานี้หากมีผลข้างเคียงดังกล่าว ไม่ควรขับรถหรือทำงานกับเครื่องจักร
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 5.1 อาการที่ต้องหยุดยา แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
– อาการแพ้ยา ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
– เส้นเอ็นบริเวณไหล่ มือ หรือข้อเท้ามีอาการปวด บวม โดยไม่ทราบสาเหตุ
– ผิวหนังอักเสบหลังถูกแสงแดด
– มีอาการปวด แสบร้อน รู้สึกเหมือนมีเข็มตำ ชา และการอ่อนแรงของแขน ขา ตลอดจนการรับรู้ความรู้สึกสัมผัส ความเจ็บปวด อุณหภูมิหรือการทรงตัวของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
5.2 อาการที่ไม่จาเป็นต้องหยุดยา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที
– ง่วงนอน เฉื่อยชาผิดปกติ
– ปวดศีรษะ เวียนหัว ง่วงนอน หรือนอนไม่หลับ
– คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ไม่สบายท้อง ท้องเสีย หรือท้องผูก
ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบอื่นในตำรับนี้ หรือเคยแพ้ยาที่มีโครงสร้างคล้ายกัน ได้แก่ ยาในกลุ่มฟลูออโรคลิโนโลน เช่น นอร์ฟลอกซาซิน โอฟลอกซาซิน ลีโวฟลอกซาซิน มอกซิฟลอกซาซิน และซิตาฟลอกซาซิน
อันตรกิริยาระหว่างยา อย่าใช้ร่วมกับยาอื่นโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
– ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับนม ยาลดกรด วิตามินที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม เพราะอาจทำให้การดูดซึมยานี้ลดลง แต่อาจใช้ได้หากกินห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
– หลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่าย
การเก็บรักษายา ควรเก็บไว้ในภาชนะบรรจุเดิมตามที่ได้รับมา ในที่แห้ง ไม่โดนความร้อนหรือแสง
ข้อควรระวังอื่นๆ – ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี เนื่องจากอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายขึ้น
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคลมชัก หรือมีความผิดปกติทางสมอง เนื่องจากยานี้อาจกระตุ้นสมอง และอาจทำให้ชักได้ง่ายขึ้น
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบบางชนิด เนื่องจากอาจทำให้โรคกำเริบและอาจทำให้เกิดท้องร่วงจากการอักเสบของลำไส้อันเนื่องมาจากยาปฏิชีวนะได้
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดรุนแรงเนื่องจากอาจทำให้หายใจลำบากหรือเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจหรือมีจังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ เนื่องจากอาจทำให้อาการกำเริบ ซึ่งในบางกรณีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากอาจทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
– ยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยของการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเด็ก หญิงมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว
อ้างอิง 1. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook with international trade name index. 18 ed.; 2009-2010.
2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. รายการข้อมูลยาสำหรับประชาชน. [cited 2017 Oct 18]. http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/ข้อมูลยาสำหรับประชาชน.aspx