มะเร็งตับอ่อน มะเร็งที่ถูกขนานนาม “เพชฌฆาตเงียบ”

ตับอ่อน มะเร็ง

มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) คือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน

อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้

อาการของมะเร็งตับอ่อน

อาการแรกเริ่ม

มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่มักไม่ปรากฏอาการในระยะแรกๆ บางครั้งจึงถูกเรียกว่าเพชฌฆาตเงียบ (silent killer) และแม้ปรากฏอาการก็มักเป็นอาการที่ไม่มีความจำเพาะเจาะจง ดังนั้นบ่อยครั้งจึงวินิจฉัยไม่ได้จนกว่าโรคจะลุกลามไปมาก อาการที่พบบ่อยได้แก่

  • ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาจร้าวทะลุหลัง (พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่ส่วนตัวหรือส่วนหางของตับอ่อน)
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักลด
  • ดีซ่าน ตัวตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่หัวของตับอ่อน (60%) และทำให้ท่อน้ำดีร่วม (common bile duct) ช่วงที่ผ่านตับอ่อนเกิดตันขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีอุจจาระสีซีดหรืออุจจาระเป็นมัน อาจมีอาการคันจากดีซ่านได้
  • อาการแสดงทรุสโซ (Trousseau sign)
  • เบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากตับอ่อนทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนหลายคนเกิดมีเบาหวานขึ้นหลายเดือนหรือหลายปีก่อนตรวจพบมะเร็ง ผู้สูงอายุที่ตรวจพบว่าเพิ่งมีเบาหวานขึ้นใหม่อาจเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของมะเร็งตับอ่อน
  • พบโรคซึมเศร้าร่วมกับมะเร็งตับอ่อนได้บ่อยครั้ง บางครั้งมีก่อนตรวจพบมะเร็งตับอ่อน แม้ยังไม่ทราบความสัมพันธ์แน่ชัด

อาการของมะเร็งที่แพร่กระจาย

ส่วนใหญ่มะเร็งตับอ่อนจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังตับ และอาจไปที่ปอดได้ บางครั้งอาจไปที่กระดูกหรือสมองก็ได้

อัตราการรอดของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่สี่ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก เป็นมะเร็งที่เมื่อนับรวมทุกระยะรวมกันแล้วถือว่ามีพยากรณ์โรคไม่ดี

– มีอัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี 25%
– มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี 6% สำหรับผู้ป่วยระยะไม่ลุกลาม
– มีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ 20% ในขณะที่ค่ามัธยฐานการรอดชีวิตของผู้ป่วยระยะลุกลามอวัยวะข้างเคียงและระยะแพร่กระจาย (ซึ่งเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดเป็น 80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน) อยู่ที่ 10 และ 6 เดือน ตามลำดับ

ข้อมูลอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/มะเร็งตับอ่อน