กระดอม

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์  Gymnopetalum chinensis (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์   Cucurbitaceae

ชื่อพ้อง  Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz
ชื่อทั่วไป  ขี้กาดง ขี้กาน้อย (สระบุรี), ขี้กาลาย (นครราชสีมา), ขี้กาเหลี่ยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ผักแคบป่า (น่าน), มะนอยจา (ภาคเหนือ), มะนอยหก มะนอยหกฟ้า (แม่ฮ่องสอน), กระดอม

ลักษณะ : 
พืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาไม้เลื้อยไปตามดิน เถามีขนาดเล็กเป็นร่องส่วนปลายจะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตรออกตรงข้ามกับใบ

ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไตสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยกจากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือทั้งด้านบนและด้านล่าง

ดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 1.5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อยาว 7-15 ซม. กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก มีขนเป็นมันเลื่อม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยว ๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

ผลสีแดงอมส้ม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 4-5 ซม. ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี กว้างประมาณ 3 มม. กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 6 มม. มีจำนวนมาก

สรรพคุณสมุนไพร
ใบ   – รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของบาดทะยัก
ลูกสุก – ผลแก่เป็นพิษ แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
ลูก – ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ คุ้มดีคุ้มร้าย เจริญอาหาร ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด

ราก – รสขม แก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิต
รากแห้ง – บดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย

เมล็ด –  น้ำต้ม เมล็ด รับประทานเป็นยาลดไข้ แก้พิษสำแลง เป็นยาถอนพิษจากการกินผลไม้ที่เป็นพิษบางชนิด ถอนพิษจากพืชพิษ ขับน้ำลาย ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี บำรุงธาตุ รักษาโรคในการแท้งลูก
เถา – บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนมฤทธิ์

ตำรายาพื้นบ้านอีสาน:
ใช้ ผล ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต เป็นส่วนประกอบในตำรับยาหอมนวโกฐ, ยาหอมอินทจักร์ และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา

ประโยชน์และความสำคัญ 
ทางอาหาร ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็นผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก

วิธีใช้
แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย

ข้อควรระวัง: ผลอ่อนกินได้ ผลแก่และผลสุกมีพิษห้ามรับประทาน

ทางเภสัชวิทยา
ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว

ที่มา
http://xn--o3cdbaevbumi7e7euch5pc3gc.blogspot.com/2012/03/blog-post_8432.html
http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/cucurbit/gcochi_2.htm
http://be13er.blogspot.com/2009/01/blog-post_8869.html
http://www.thaifolk.com/doc/cuisine/kradom/kradom.htm
http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=5