กระทุ่มน้ำ

อาหารเพื่อสุขภาพ - สมุนไพร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nauclea orientalis (L.) L.
ชื่อวงศ์ :  RUBIACEAE
ชื่อสามัญ : Hambabalos (Bis.)
ชื่ออื่น : กระทุ่มคลอง, กระทุ่มน้ำ (ภาคกลาง); ตะกู, สะแก เหลือง (ภาคกลาง); ตุ้มขัก, ตุ้มคำ (ภาคเหนือ); ตุ้มดง (ลำปาง, บุรีรัมย์); ตุ้มเหลือง (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะ :
ไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน โตเร็ว ไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ อาจสูงได้ถึง 30 ม. ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ เรือน ยอดเป็นพุ่มแน่น เปลือกแตกเป็นร่องลึกตามยาว สีเทาเข้ม  เปลือกในสีเหลือง ตามยอดและกิ่งอ่อน มักมีขนประปราย กิ่งแก่ เกลี้ยง ตามข้อแบนเล็กน้อย

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปไข่ค่อนข้างกว้าง บางครั้งเกือบเป็นแผ่นกลม หูใบรูปไข่กลับ ขนาดใหญ่ ยาว 1–2.5 ซม.  แผ่นใบด้านบน สีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า มีขนนุ่มประปรายหรือค่อนข้างเกลี้ยง ใบอ่อน สีน้ำตาลแดงสวยงาม ใบแก่สีเขียวสด

ดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยว ๆ ตามปลาย กิ่ง ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–5 ซม. ดอกย่อยสีเหลืองขนาด เล็กจำนวนมาก กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก 5 กลีบ กลีบดอก ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมาก ติดใกล้ปากหลอดกลีบดอก ยอดเกสรเพศ เมียยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก เห็นชัดเจน

ผลย่อยรูปรี เบี้ยว ระหว่างผลมีเยื่อบาง ๆ เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก

สรรพคุณ
ใบ ใช้รักษาแผล แมลงสัตว์กัดต่อย และแก้ปวดท้อง ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งที่ผิวหนังและกระเพาะปัสสาวะ
ผล  รสขม รับประทานได้
ราก ต้มน้ำกับรากต่อไส้ รากทองแมวเปลือกกระทุ่มโคก และรากกระเจียน ดื่มบำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อย ขับน้ำคาวปลาหลังการคลอด

ประโยชน์ 
เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อน สีเหลืองเข้ม อมส้มหรือน้ำตาล ตกแต่งง่าย ความทนทานน้อย ใช้ก่อสร้างที่อยู่ ในร่ม เป็นไม้บุผนังที่สวยงาม ทำเครื่องเรือนและหีบใส่ของ

ข้อแนะนำ 
ลักษณะการปลูกคล้ายกับกระทุ่ม แต่ก้านเหลืองมักจะขึ้นเฉพาะพื้นที่ป่าชายน้ำ ตาม แนวตลิ่ง และที่โล่งแจ้ง ควรปลูกตามข้างตลิ่งที่กว้างพอจะมีแสงแดดส่องเต็มที่ ขึ้นได้ดีทั้งบนดินปนทราย ดินเหนียว ดินตะกอนอัดแน่น และดินเลน

ที่มา
http://kasetintree.com/5184.html
http://www.stuartxchange.com/Bangkal.html
http://www.balinghasai-farms.info/2012/08/14/native-wild-edible-nauclea-orientalis/
http://student.nu.ac.th/46313433/Thaiherb/kanlueng.htm